วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การท่องเที่ยวทางน้ำในทวีปยุโรป

เมืองอิสตันบูล ตุรกี

  •  ตุรกี (Turkey) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเธรซ บนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตอนใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและแทรสออกจากกันคือทะเลมาร์มารา และช่องแคบตุรกี (ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลส) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป

  • ที่ตั้ง
    ส่วนหนึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป (ร้อยละ 3) อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันตก ทิศเหนือติดทะเลดำ ทิศตะวันออกติดประเทศจอร์เจียและประเทศอาร์เมเนีย ทิศใต้ติดประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ


  • เมือง อิสตันบูล ประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ( Bosphorus)  ซึ่งหมายความว่า ประเทศตุรกีเป็นประเทศเดียวในโลกที่พื้นที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป นั้น คือ ทวีปเอเชีย และ ทวีปยุโรป  ช่องแคบบอสฟอรัส เป็นช่องแคบเป็นพรมแดนระหว่างตุรกีที่อยู่ในทวีปยุโรป กับ อานาโตเลียของเอเชีย  เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับ ทะเลอีเจียน  ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่าง ทะเลดำ กับทะเลมาร์มารา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ช่องแคบบอสฟอรัสยาว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุด 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุด 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร  ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นมาก

  • ในอดีตเมืองอิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าเป็นจำนวนมากในบริเวณ นั้น  จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซมเทียม  คอนสแตนติโนเปิล สแตมโบล อิสลามบูล เป็นต้น  คำว่า '' อิสตันบูล" มาจากภาษากรีก แปลว่า " ในเมือง"   หรือ   "ของเมือง"   เมืองอิสตันบูลเป็นเมืองที่สวยงาม คุณจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายความเป็นยุโรปอีกฝากหนึ่ง และกลิ่นอายของเอเชียอีกฝากหนึ่ง

การท่องเที่ยวทางน้ำของเมืองอิสตันบูล ช่องแคบบอสฟอรัส

     ชื่อบอสฟอรัส มาจากเทพปกรณัม Bous แปลว่าแม่วัวในภาษากรีกโบราณ poros หมายถึงทางข้าม
‘Bosphorus’ จึงมีความหมายว่าทางแม่วัวข้าม แม่วัวเคยเป็นหญิงงามที่มีชื่อว่า ไอโอ (Io) ซึ่งซุส ราชาแห่งเทพเจ้ามีสัมพันธ์ด้วย เมื่อเฮรา มเหสีของซุสรู้เรื่อง ซุสจึงกลบเกลื่อนด้วยการสาปไอโอให้เป็นแม่วัว แต่เฮราผู้ชาญฉลาดได้ให้แมลงดูดเลือดต่อยไอโอที่สะโพกแล้วไล่เธอออกไปจาก ช่องแคบ 

เมื่อก่อน การข้ามช่องแคบบอสฟอรัสจากฝั่งยุโรปสู่ฝั่งเอเชียต้องใช้เรือเท่านั้น และถ้าแม่น้ำเป็นน้ำแข็งก็ข้ามไปไม่ได้ แต่เมื่อถึงปลายปี ค.ศ. 1973 สะพานบอสฟอรัสซึ่งได้กลายมาเป็นสะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับสี่ของโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์ การคมนาคมข้ามแดนจึงเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น แต่หลังเปิดใช้ก็เกิดปัญหารถติดบนสะพานอย่างหนัก จึงต้องสร้างสะพานแห่งที่สอง คือ สะพานฟาติห์ และแห่งที่สามกำลังร่างแบบกันอยู่

ถึงอย่างไรเรือก็ยังเป็นทางเลือกที่นิยมอยู่ ทั้งสำหรับชีวิตประจำวันของชาวอิสตันบูล และสำหรับ
นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมาไม่ขาดสาย เรือล่องบอสฟอรัสมีทั้งแบบเรือโดยสารที่จอดตามท่าต่างๆ และแบบเหมาลำ เส้นทางยอดนิยมเป็นเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเอมิโนนูไป อนาโดลู คาวาอือ เรือจอดป้ายแรกที่เบชีคตัส  หรือพิพิธภัณฑ์เรือ (ฝั่งยุโรป) ผ่านพระราชวัง โดลมาบาเช ถัดมาคือพระราชวังชีราอาน เคยเป็นที่ประทับของสุลต่านอับดุลอาซิซ ถูกไฟไหม้ในทศวรรษ 1920 ปัจจุบันเป็นโรงแรมชีราอาน โฮเตล เคมปินสกี้ อันเลิศหรู ตรงข้ามกันเป็นฝั่งเอเชียที่เรียกว่า เฟติ อาห์เมต ปาซา ยาลึ เรียงรายไปด้วยเรือนไม้ฤดูร้อน และสถานทูตต่างชาติในยุคออตโตมัน






ใต้สะ พานบอสฟอรัสฝั่งยุโรปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสีสัน ทั้งหอศิลป์ บาร์ ร้านอาหารมีระดับ บริเวณนี้ในอดีตเป็นหมู่บ้านออร์ตาเคอย์ ถัดมาคือ เบย์เลอร์เบยี ซารายึ ตำหนักเล็กขนาด 30 ห้อง ของสุลต่านอับดุล  อาซิซ จากนั้นเรือจะล่องสู่ย่านชานเมืองที่สงบและมีเสน่ห์แบบโบราณ อย่าง คานลึจา ที่มีโยเกิร์ตอร่อยขึ้นชื่อ อาร์นาวูตเคอย์ (หมู่บ้านอัลบาเนีย) และอานาโคลูฮีซารึ (ปราสาทอนาโตเลีย) ที่อยู่บนฝั่งเอเชีย ส่วนที่อยู่เยื้องกันบนฝั่งยุโรปเป็น รูเมลีฮีซารึ (ปราสาทเธรซ หรือปราสาทเครื่องตัดคอ) ที่สร้างโดยสุลต่านเมห์เมตผู้พิชิต ปราสาททั้งสองดูงามแปลกตาและไม่ค่อยน่ากลัว แต่ในอดีตคือเคยใช้เป็นที่บัญชาการและติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ในการตัดความ ช่วยเหลือที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะได้รับ เพื่อจะปิดล้อมกรุงในปี ค.ศ. 145


                เมื่อเรือลอดใต้สะพานลอดช่องแคบแห่งที่สอง (สะพานฟาติห์) เสียงอึกทึกในตัวเมืองจะแผ่วลง เหลือแต่เสียงหวูดเรือประมงเล็กๆ ที่กลับจากหาปลาตอนกลางวัน และเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซียและโรมาเนียที่แล่นเข้าออกช่องแคบบอส ฟอรัสและดาร์ดาแนลส์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพอดีตที่รัสเซียถือเอาช่องแคบตุรกีเป็นกุญแจปิดล็อก ประตูหลังบ้านของตน

ท่าเรือปลายๆ ทางมีตลาดปลาและร้านอาหารทะเลจำนวนมาก ทั้งท่าเรือเยนีเคอย์, ซารีแยร์, เบย์คอซ และท่าสุดท้ายที่ อนาโดลู คาวาอือ ลองเลือกสักร้านเพื่อชิมอาหารทะเลสดๆ ที่ปรุงอย่างอร่อย เป็นการซึมซับกลิ่นอายของอิสตันบูล นครแห่งพันหนึ่งราตรี

ค่าโดยสารเรือล่องบอสฟอรัส

เรือโดยสารแบบเฟอร์รี่ :
เที่ยวเดียว (ต่อคน) 1.75 ยูโร (87.50 บาท) ไป - กลับ 3.75 ยูโร (187.50 บาท) เวลาออก 10.30 น. และ 13.35 น.

เรือโดยสารแบบส่วนตัว :ประมาณคนละ 10 ยูโร (ต่อรองได้) เรือจะแล่นโดยไม่หยุดแวะจนไปถึงปราสาทเธรซ ถึงจะหยุดให้ขึ้นจากเรือไปรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะแล่นกลับ ใช้เวลาทั้งหมด
ประมาณ 3 ชั่วโมง เรือเที่ยวแรกออกเวลา 10.30 น. และสิ้นสุดในเวลา 18.00 น. สำหรับฤดูร้อน และ 16.00 สำหรับฤดูอื่น *** ซื้อตั๋วและลงเรือที่ท่าเรือเอมิโนนู



นอกจากความสวยงามแล้วช่องแคบบอสฟอรัสยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในการ ป้องกันประเทศตุรกีอีกด้วย เพราะ มีป้อมปืนตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องแคบเหล่านี้ ว่ากันว่าจะกระทั่งถึงยุคของ การนำเอาเรือปืนใหญ่มาใช้ และไม่เคยปรากฏว่า กรุงอิสตันบูลถูกถล่มจนเสียหายอย่างหนักมาก่อนเลย ทั้งที่เป็นเพราะป้อมปืนดังกล่าวนี่เอง   ในปีค.ศ.1973 มีการเปิดใช้สะพานบอสฟอรัส ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางไปมาระหว่างฝั่งเอเชีย และยุโรปสะดวกมากขึ้น ขณะล่องเรือท่านจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ สองข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังโดลมาบาเช่ หรือบ้านเรือนสไตล์ยุโรปของบรรดาเศรษฐี ซึ่งล้วนแต่สวยงามตระการตาทั้งสิ้น




ที่มา     http://freedomfei.blogspot.com/2011/01/blog-post.html


ประเทศฮังการี
                                       “บูดาเปสต์” ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ


          “สาธารณรัฐฮังการี” (Republic of Hungary) เป็นประเทศหนึ่งทางแถบยุโรปที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่ในตอนศตวรรษที่ 9 ซึ่งประเทศฮังการีนี้มีความงดงามในทางลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างมาก จนนักท่องเที่ยวจากหลายมุมโลกก็อยากจะเดินทางมาสัมผัสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้มาเที่ยวชมเมืองหลวงอันงดงามที่มีชื่อว่า “บูดาเปสต์” (Budapest) เป็นนครหลวงของประเทศฮังการีที่รวมเอาสองเมืองเข้าด้วยกัน คือเมือง "บูดา" กับเมือง "เปสต์" รวมกันเมื่อปี 1873 บูดาเปสต์นั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่มีความงดงามติดอันดับโลก จนได้รับสมญานามว่า “บูดาเปสต์ ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ” ด้วยเพราะทัศนียภาพความงามบนสองฝั่งแม่น้ำดานูบ (Danube) ยามพระอาทิตย์ตกดิน หรือที่คนฮังกาเรียนเรียกขานว่า ดูนา (Duna) เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านกลางเมือง ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำดานูบ มีภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อนเรียกว่าฝั่งบูดา (Buda) เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมโบราณและศิลปวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ส่วนฝั่งเปสต์ (Pest) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นราบ เป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญของเมือง
St. Stephen's Basilica
          
           เมืองนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังและงดงามให้เที่ยวชมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มหาวิหารเซนต์สตีเฟน(St.Stephen Basilica) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสูงโดดเด่นเป็นสง่าในฝั่งเปสต์ เป็นมหาวิหารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เซนต์สตีเฟน กษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรฮังการี สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1851 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ.1905 ใช้เวลากว่า 54 ปีในการก่อสร้าง มหาวิหารแห่งนี้มีความสูงถึง 96 เมตร ถือว่าป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดในบูดาเปสต์ ภายในมหาวิหารโอ่โถงอลังการท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ การตกแต่งภายในถึงแม้จะดูเรียบง่ายแต่ก็แฝงไว้ด้วยความงดงามทาง สถาปัตยกรรม  


อาคารรัฐสภา (Hungarian Parliament)
           อาคารรัฐสภาฮังการี (Hungary Parliament) ถือว่าป็นสัญลักษณ์ของฮังการี อาคารรัฐสภาตั้งโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำดานูบบนฝั่งเปสต์ เป็นอาคารรัฐสภาที่ชาวฮังกาเรี่ยนภูมิใจว่าเป็นอาคารรัฐสภาที่สวยที่สุดใน โลก เพราะตัวอาคารมีความสวยงามด้วยสภาปัตยกรรมแบบนีโอโกธิคที่ดูคลาสสิคด้วย หลังคาสีแดง อาคารรัฐสภาแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ.1885 และใช้เวลากว่า 20 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรูปแบบอาคารได้รับอิทธิพลมาจากอาคารรัฐสภาแห่งลอนดอน สหราชอาณาจักร
       ภายในอาคารรัฐสภาประกอบด้วยห้องมากมายถึง 700 ห้อง มีประตูทางเข้า 27 แห่ง บนตัวอาคารประดับด้วยยอดสูง 365 ยอด ซึ่งการเดินชมภายในรัฐสภาจะจัดเป็นกลุ่มย่อยๆ และมีไกด์คอยพานำชมห้องต่างๆ ซึ่งแต่ละห้องตกแต่งอย่างสวยสดวิจิตรอลังการงดงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง

Chain Bridge


            สะพานเชน (Chain Bridge) หรือสะพานโซ่ เป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของบูดาเปสท์ สะพานเชนแห่งนี้เป็นสะพานถาวรแห่งแรกที่ทอดตัวข้ามแม่น้ำดานูบ สร้างโดยวิศวกร ชาวอังกฤชื่อ William Tierney Clark เหล็กทุกชิ้นล้วนนำมาจากอังกฤษ เป็นสะพานที่มีความสวยงามอย่างมาก มีรูปปั้นแกะสลักสิงห์โตที่สะพาน ยิ่งยามค่ำคืนสะพานจะสว่างไสวไปด้วยไฟราวที่ถูกประดับประดาไว้ยิ่งสร้างความ งามตาให้กับสะพานอย่างยิ่งยวด

Fishermen’s Bastion

ป้อมชาวประมง (Fishermen’s Bastion) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1905 โดยกลุ่มชาวประมงฮังกาเรียน สร้างขึ้นไว้เพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของชาวประมงผู้เสียสละชีวิตปกป้องบ้าน เมืองในคราวที่ถูกพวกมองโกลเข้ามารุกรานเมื่อปี 1241 - 1242 บนป้อมชาวประมงนี้ถือว่าเป็นจุดชมวิวรอบเมืองบูดาที่สวยที่สุด สามารถชมความงามของแม่น้ำดานูบได้แบบพาโนรามา มองเห็นสะพานเชน และอาคารรัฐสภาฮังการีริมแม่น้ำดานูบที่งดงามตรึงตา ประทับใจกับการที่ได้มาเยือน “บูดาเปสต์” นครหลวงอันงดงามแห่งสาธารณรัฐฮังการี






ที่มา : http://www.khonkaenlink.info/tour/tour_thai.asp?id=8905
http://www.khonkaenlink.info/tour/tour_thai.asp?id=7368
http://www.google.co.th/imghp?hl=th&tab=wi

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบศักดินา

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย และจดหมายเหตุของจีน ทำให้เราทราบว่า ศักดินาไม่ได้มีเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ได้มีมานานแล้ว เป็นเพียงแต่พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์และปรับปรุงใหม่เท่านั้น  กฎหมายกำหนดศักดินานี้ปรากฏชัดเจนครั้งแรกใน พ.ศ. 1997 ว่าพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ตรากฎหมาย 2 ฉบับเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน กับพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นรากฐานของระบบศักดินาของอยุธยา ซึ่งได้ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์   โดย กำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ประหนึ่งว่าแต่ละคนมีที่ดินจำนวนหนึ่งตามฐานะสูงต่ำของตนจาก 5-100,000 ไร่  ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงทั่วราชอาณาจักรและดำรงอยู่ในฐานะเทวราชา มูลเหตุที่ทรงกำหนดให้มีศักดินาเป็นเพราะ ในสมัยนั้นข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ ยังไม่มีเงินเดือน เงินปีอย่างสมัยนี้ จึงใช้วิธีพระราชทานที่ดินให้มากน้อยตามฐานะแต่ความเป็นจริง แล้วก็ไม่ได้มีที่ดินไว้ในครอบครองตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ศักดินาจึงหมายถึงสิ่งที่กำหนด สิทธิ หน้าที่ ชั้นฐานะของบุคคล ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่มีต่อบ้านเมือง ศักดินายังมีอิทธิในทางด้านกฎหมายและด้านอื่นๆด้วย
ลักษณะสำคัญของระบบศักดินา

หลายคนเข้าใจผิดว่าการปกครองในยุคศักดินา เป็นการปกครองที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจเข้มแข็ง แต่ที่จริงแล้วระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่างที่ทำให้พระเจ้าแผ่นดินมี อำนาจจำกัดคือ

(๑) ระบบการปกครองแบบศักดินาไม่มีข้าราชการ ระบบข้าราชการไทยตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉนั้นพระเจ้าแผ่นดินในยุคศักดินาต้องแบ่งอำนาจในการปกครองกับ ขุนนาง มูลนาย และเจ้าหัวเมือง

(๒) การที่ระบบการผลิตอาศัยการเกณฑ์กำลังงานแรงงานบังคับโดยมูลนายและขุนนาง มีส่วนทำให้พระเจ้าแผ่นดินต้องแบ่งอำนาจทางเศรษฐกิจการผลิตให้กับมูลนายและ ขุนนางอีกด้วย

(๓) อำนาจของ “เมืองหลวง” เช่นอยุธยา หรือ กรุงเทพฯ ในระบบศักดินา จะลดลงในสัดส่วนที่เท่ากับความห่างจากตัวเมือง เพราะเมืองห่างๆ ไม่จำเป็นต้องกลัวการส่งกองกำลังมาปราบปรามเท่ากับเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์ กลาง นอกจากนี้ “หัวเมือง” อาจเป็น “หัวเมือง” ของเมืองอำนาจศูนย์กลางอื่นๆ หลายเมืองพร้อมๆกัน ระบบการแผ่อำนาจแบบวงกลมซ้อนๆนี้ เรียกว่าเป็นระบบ Mandala หรือ Galactic Polity – คือระบบดวงดาวที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ มันเป็นระบบที่ไม่มีแผนที่ ไม่มีพรมแดน เพราะเน้นควบคุมคนและชุมชนเป็นหลัก


ที่มา     http://redcyberclub.thai-forum.net/t79-topic
            http://learners.in.th/blog/thelaw1/336370







ระบบแมเนอร์ หรือ ศักดินายุโรป





พื้นฐานและที่มาของระบบ

ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้ อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบ ต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็น เกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้ มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากิน แปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของเเมเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอัน ระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดิน แดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอัน สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษใน ปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการ บริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับ ผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด

ระดับชั้นในระบบศักดินา

ระบบศักดินา หรือ ระบบสามนตราช (Feudalism) ของยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือจักรพรรดิที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ กษัตริย์ และ อาร์คดยุค เช่นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ ดยุค และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
  1. ดยุค
  2. มาร์ควิส
  3. เอิร์ล (อังกฤษ) หรือ เคานท์ หรือ มากราฟ (ภาคพื้นยุโรป)
  4. ไวส์เค้านท์
  5. บารอน
ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดน อื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับ ผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ



ที่มา     http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2

Moralism


คริสต์ทศวรรษ 1860-1970  คำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ ตรงกับคำว่า "สมัยใหม่" ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัย ศิลปะล้วนแล้วแต่ "ใหม่ (modern)" สำหรับผู้สร้างมัน  ถึงแม้ว่าจะเป็น ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง "ใหม่ (modern)" ในความหมายนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ "เก่า" หรือ "ประเพณี" ดังเช่น ความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของ สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ เรา(คนไทย) มักจะนึก "ความเป็นฝรั่ง" พร้อมๆกับคำว่าสมัยใหม่ แต่ในความหมายเชิงประวัติศาสตร์ คำว่า "โมเดิร์น" ในศิลปะตะวันตกหมายถึงยุคสมัยจำเพาะในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1860-1970 ในความหมายนี้สมัยใหม่ถูกใช้อธิบายรูปแบบและอุดมคติหรืออุดมการณ์ในการสร้าง สรรค์ในยุคนั้นๆ
            
  ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:
1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)
2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.
3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)
4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน
5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ใน วิธีการที่เป็นพิเศษ
6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ
7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ

การเข้าใจผิดของ Moralism
1 ความเกรียวกราวกว่ากะเหรี่ยง Finley ขณะนี้ล่องลอยในประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนมากอาจจะไม่รู้จักชื่อของเธอ  Finley จะอยู่ในความอับอายขายหน้าในจารีตนิยมในการใช้สิทธิ์ของตัวเองจากชาติประกันชีวิตสำหรับศิลปะ, ย้อนกลับไปใน s '80', การทำชิ้นงานศิลปะการแสดง : เธอปรากฏบนเวทีในเปลือยน้ำเชื่อมช็อคโกแลต, smeared บน ร่างกายของเธอและเชิญผู้ชม สมาชิกเลียออก  คัดค้านค่อนข้างเหมาะสมของหลักสูตรคือเหตุผลที่ผู้เสียภาษีเงินควรจะใช้จ่าย ในสิ่งที่ต้องการนี้ซึ่งหลาย ๆ คนจะพิจารณาความไม่พอใจหรือหยาบคาย  จุดประสงค์ของตัวเอง Finley ในชิ้นถูก muddied เมื่อเธอมาปรากฏตัวในกรกฎาคม 1999 ปัญหาของนิตยสารเพลย์บอย  การกระทำเดิมดูเหมือนจะโกรธมาตรฐาน สตรีนิยม เลียนแบบหรือส่งขึ้นของ"การทำให้แลเห็น"ของร่างกายของสตรีหรือเป็นบทความ Playboy ตัวเองกล่าวว่า"การย่อยสลายสัญลักษณ์ของ."  แต่ปรากฏในภาพเปลือยในนิตยสารเพลย์บอยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Bill Maher ส่วนตัวเลียช็อคโกแลตปิดตัวเองของเธอจะแทบจะไม่ได้โกรธ interpretated โดยสตรีนิยมมาตรฐานการส่ง"ข้อความขวา"และ Finley สารปัญหาโดยที่ปรากฏไม่เพียง แต่ใน ช็อคโกแลตเครื่องหมายการค้าของเธอ แต่โดยไม่ได้นอกจากนี้ในบางมาตรฐาน Playboy เปลือย poses  เธอ ไม่ได้ดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งโกรธหรือสตรีนิยมและแน่นอนเป็นผู้หญิงที่ดูดีมาก -- บริสุทธ์และสนุก -- น้อยรองลงมาจากเพื่อนเล่นใด ๆ  นี้ถูกพัฒนาอยากรู้อยากเห็นในประวัติศาสตร์ของศิลปะการแสดงทางการเมือง
2. Haing ง (1940-1996) เป็นแพทย์ชาวกัมพูชาที่มีประสบการณ์บางส่วนที่เลวร้ายที่สุดของ Terror กัมพูชา, หนีไปกัมพูชาในปี 1979 เขียนหนังสือเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาแล้วได้รับรางวัลออสการ์สำหรับการสนับสนุนที่ดีที่สุดสำหรับนักแสดงภาพยนตร์ 1984 เขตข้อมูลฆ่า  น่าเศร้าที่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ปี 1996 งถูกฆาตกรรมโดยสมาชิกแก๊งเอเชียในขณะที่ออกหดของ Los Angeles พาร์ทเมนท์ของเขา  ฆ่าดูเหมือนจะได้รับส่วนหนึ่งของการปล้น แต่ข่าวลือมาประกอบมันจะตีโดย sympathizers คอมมิวนิสต์  มันยากที่จะเชื่อว่าจะมี sympathizers คอมมิวนิสต์ในการดำเนินงานดังกล่าวชุมชน expatriot แต่ ก็เป็นที่ชัดเจนที่วิทยาเขตมหาวิทยาลัยของอเมริกาที่รุ่นที่ไม่เคยรู้ว่า คอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ชอบกลับบ้านได้อย่างง่ายดายสามารถจัดหา recruits วิทยาเขตสำหรับอนุมูลจาก ซ้าย


 3.การแสดงตนของ MacKinnon ในสื่อดูเหมือนจะอยู่ ๆ ก็หายไปไม่กี่ปีที่ผ่านมาและมันเป็นเพียงตอนนี้ฉันตระหนักดีว่ามันอาจจะเป็นเพราะการสนับสนุนของเธอคดีพอลล่า Jones  MacKinnon กล่าวว่า"เมื่อพอลโจนส์ฟ้องบิลคลินตัน, การครอบงำชาย quaked."  นี้ก็จะไม่ได้ endeared เธอ feminists อื่น ๆ ผู้หลังจากลังเลเล็กน้อย, โมฆะ (ชั่วคราว) หลักการของพวกเขาทั้งหมดที่ระบุไว้ในระยะยาวเพื่อป้องกันการเป็นพันธมิตรทาง การเมือง  แท้จริงในขณะที่ฉันไม่ได้ฟังความเห็นของ MacKinnon  นอกจากนี้ในขณะที่ feminists ดั้งเดิมไม่มีความรักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสื่อลามก, พันธมิตรเปิดของ MacKinnon และ Dworkin กับอนุรักษ์นิยมทางศาสนา (ชิงชัง"ศาสนาขวา") เกี่ยวกับเรื่องนี้ทำหลายอย่างน้อย, อึดอัด  Dworkin ตัวเองได้รับความสนใจมากขึ้นจากความตายก่อนวัยอันควรของเธอ (มีอายุ 58) ในปี 2005 กว่าทั้งคู่จะมีการรวบรวมมา





ที่มา     http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=warramutra&month=10-2007&date=29&group=1&gblog=15
http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/papers/postmodern.htm

postmodern

     Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด

    
ลักษณะ Post modern
1. การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง
2. การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน
3.
Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
4.
Post modern ปฏิเสธ จุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไป จากบริบทอย่างสิ้นเชิง
ความ คิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และการตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์ นของตะวันตก ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้ พัฒนาความสุข การหลุดพ้น หรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย



ที่มา   http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2444 
           http://en.wikipedia.org/wiki/Postmodernism