จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย และจดหมายเหตุของจีน ทำให้เราทราบว่า ศักดินาไม่ได้มีเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ได้มีมานานแล้ว เป็นเพียงแต่พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์และปรับปรุงใหม่เท่านั้น กฎหมายกำหนดศักดินานี้ปรากฏชัดเจนครั้งแรกใน พ.ศ. 1997 ว่าพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ตรากฎหมาย 2 ฉบับเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน กับพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นรากฐานของระบบศักดินาของอยุธยา ซึ่งได้ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ โดย กำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ประหนึ่งว่าแต่ละคนมีที่ดินจำนวนหนึ่งตามฐานะสูงต่ำของตนจาก 5-100,000 ไร่ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงทั่วราชอาณาจักรและดำรงอยู่ในฐานะเทวราชา มูลเหตุที่ทรงกำหนดให้มีศักดินาเป็นเพราะ ในสมัยนั้นข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ ยังไม่มีเงินเดือน เงินปีอย่างสมัยนี้ จึงใช้วิธีพระราชทานที่ดินให้มากน้อยตามฐานะแต่ความเป็นจริง แล้วก็ไม่ได้มีที่ดินไว้ในครอบครองตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ศักดินาจึงหมายถึงสิ่งที่กำหนด สิทธิ หน้าที่ ชั้นฐานะของบุคคล ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่มีต่อบ้านเมือง ศักดินายังมีอิทธิในทางด้านกฎหมายและด้านอื่นๆด้วย
ลักษณะสำคัญของระบบศักดินา
หลายคนเข้าใจผิดว่าการปกครองในยุคศักดินา เป็นการปกครองที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจเข้มแข็ง แต่ที่จริงแล้วระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่างที่ทำให้พระเจ้าแผ่นดินมี อำนาจจำกัดคือ
(๑) ระบบการปกครองแบบศักดินาไม่มีข้าราชการ ระบบข้าราชการไทยตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉนั้นพระเจ้าแผ่นดินในยุคศักดินาต้องแบ่งอำนาจในการปกครองกับ ขุนนาง มูลนาย และเจ้าหัวเมือง
(๒) การที่ระบบการผลิตอาศัยการเกณฑ์กำลังงานแรงงานบังคับโดยมูลนายและขุนนาง มีส่วนทำให้พระเจ้าแผ่นดินต้องแบ่งอำนาจทางเศรษฐกิจการผลิตให้กับมูลนายและ ขุนนางอีกด้วย
(๓) อำนาจของ “เมืองหลวง” เช่นอยุธยา หรือ กรุงเทพฯ ในระบบศักดินา จะลดลงในสัดส่วนที่เท่ากับความห่างจากตัวเมือง เพราะเมืองห่างๆ ไม่จำเป็นต้องกลัวการส่งกองกำลังมาปราบปรามเท่ากับเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์ กลาง นอกจากนี้ “หัวเมือง” อาจเป็น “หัวเมือง” ของเมืองอำนาจศูนย์กลางอื่นๆ หลายเมืองพร้อมๆกัน ระบบการแผ่อำนาจแบบวงกลมซ้อนๆนี้ เรียกว่าเป็นระบบ Mandala หรือ Galactic Polity – คือระบบดวงดาวที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ มันเป็นระบบที่ไม่มีแผนที่ ไม่มีพรมแดน เพราะเน้นควบคุมคนและชุมชนเป็นหลัก
หลายคนเข้าใจผิดว่าการปกครองในยุคศักดินา เป็นการปกครองที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจเข้มแข็ง แต่ที่จริงแล้วระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่างที่ทำให้พระเจ้าแผ่นดินมี อำนาจจำกัดคือ
(๑) ระบบการปกครองแบบศักดินาไม่มีข้าราชการ ระบบข้าราชการไทยตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉนั้นพระเจ้าแผ่นดินในยุคศักดินาต้องแบ่งอำนาจในการปกครองกับ ขุนนาง มูลนาย และเจ้าหัวเมือง
(๒) การที่ระบบการผลิตอาศัยการเกณฑ์กำลังงานแรงงานบังคับโดยมูลนายและขุนนาง มีส่วนทำให้พระเจ้าแผ่นดินต้องแบ่งอำนาจทางเศรษฐกิจการผลิตให้กับมูลนายและ ขุนนางอีกด้วย
(๓) อำนาจของ “เมืองหลวง” เช่นอยุธยา หรือ กรุงเทพฯ ในระบบศักดินา จะลดลงในสัดส่วนที่เท่ากับความห่างจากตัวเมือง เพราะเมืองห่างๆ ไม่จำเป็นต้องกลัวการส่งกองกำลังมาปราบปรามเท่ากับเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์ กลาง นอกจากนี้ “หัวเมือง” อาจเป็น “หัวเมือง” ของเมืองอำนาจศูนย์กลางอื่นๆ หลายเมืองพร้อมๆกัน ระบบการแผ่อำนาจแบบวงกลมซ้อนๆนี้ เรียกว่าเป็นระบบ Mandala หรือ Galactic Polity – คือระบบดวงดาวที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ มันเป็นระบบที่ไม่มีแผนที่ ไม่มีพรมแดน เพราะเน้นควบคุมคนและชุมชนเป็นหลัก
ที่มา http://redcyberclub.thai-forum.net/t79-topic
http://learners.in.th/blog/thelaw1/336370
ระบบแมเนอร์ หรือ ศักดินายุโรป
พื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้ อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบ ต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็น เกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้ มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากิน แปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของเเมเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอัน ระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดิน แดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอัน สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษใน ปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการ บริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับ ผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
ระดับชั้นในระบบศักดินา
ระบบศักดินา หรือ ระบบสามนตราช (Feudalism) ของยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือจักรพรรดิที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ กษัตริย์ และ อาร์คดยุค เช่นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ ดยุค และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดน อื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับ ผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น